วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ (Science Curriculum Framework)
พัฒนาโดยห้างหุ้นส่วนจำกัดคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ในตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเพนซิลวาเนียในฤดูร้อนภาคสุดท้าย รัฐเพนซิลวาเนียใช้กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการจัดตำแหน่ง กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองการศึกษาทั้งแนวกว้างและแนวลึก จากการทำวิจัยด้านการพัฒนาคนให้สมบูรณ์นั้น ผู้เรียนจะต้องเข้าใจข้อเท็จจริง และต้องเข้าใจกรอบแนวคิดหลักของวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ได้รับการพัฒนาจากทีมงานด้านการศึกษาของภาคตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเพนซิลวาเนีย รวมทั้งโรงเรียนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา และครูที่เป็นแกนนำในโรงเรียนมัธยมศึกษา รวมถึงที่ปรึกษาที่มีความรู้สูง และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ภายใต้การแนะนำของ Harold Pratt ประธาน NSTA เดิม และผู้ที่สร้างมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ นักการศึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศใช้มาตรฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานการทำงานของพวกเขา ทำให้เขาแน่ใจว่ารัฐเพนซิลวาเนียมีมาตรฐานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ครูต้องคำนึงถึงการใช้ NSF เพื่อสนับสนุนการทำวิจัย การค้นหาข้อมูล และการทำสื่อการสอน และรวมถึงประสบการณ์ในการสอนในห้องเรียน
หัวใจของกรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยเครือข่ายความรู้ (Knowledge Networks) ซึ่งแสดงถึงแนวคิดที่พัฒนาจากแคบไปหาแนวคิดหลักหรือการเรียนรู้ที่สำคัญของวิทยาศาสตร์ การสะสมก้อนความรู้จะแสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นรวมถึงความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน การเรียนรู้เหล่านี้จะนำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจองค์ประกอบหลักของแนวคิดสำคัญรวมถึงสิ่งอื่น ๆ และองค์ประกอบหลักของแนวคิดจะทำให้เกิดความเข้าใจของการเรียนรู้ที่สำคัญ (big ideas)ของวิทยาศาสตร์



(การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุด)
(Essential Learning)


(องค์ประกอบหลักของแนวคิดสำคัญ) (องค์ประกอบหลักของแนวคิดสำคัญ)
(Key Component) (Key Component)


(Building Block) (Building Block) (Building Block) (Building Block)
(การสะสมความรู้) (การสะสมความรู้) (การสะสมความรู้) (การสะสมความรู้)


แต่ละระดับชั้นประกอบด้วย 3-6 ความคิดหลักของวิทยาศาสตร์ การจัดการเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นใช้เวลาเพียงพอในแต่ละหัวข้อ เพื่อให้เกิดการศึกษาในเชิงลึก ภาพรวมของเนื้อหาวิทยาศาสตร์ในแต่ละระดับชั้นสามารถพบได้ในส่วนของกรอบ
กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์จะแสดงลำดับของการเรียนรู้ที่สำคัญจากโรงเรียนอนุบาลจนถึงมัธยมตอนปลายทั้งสามเนื้อหาคือการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต , วิทยาศาสตร์กายภาพ และโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ จะสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของนักพัฒนาเพื่อทำให้เกิดความแน่ใจว่าทั้งหมดเป็นเนื้อหาที่จำเป็นในสถานศึกษาและมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน
กรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์เน้นวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ แต่ละระดับชั้นมีการจะแบ่งเป็นตอนสั้น ๆ แต่สอดแทรกการเรียนรู้ที่สำคัญไว้ มีการแนะนำวิธีการสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์ไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ ในการส่งเสริมให้เรียนรู้ด้วยวิธีการสืบเสาะหาความรู้นั้นมีความสัมพันธ์กับเนื้อหา และสอดแทรกไว้ทุก ๆ เครือข่ายความรู้ งานวิจัยมีความสัมพันธ์กับข้อมูลพื้นฐานของการสืบเสาะหาความรู้ซึ่งเป็นแก่นแท้ของโครงสร้างเนื้อหาที่ระบุเฉพาะสิ่งที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้ เป็นความสามารถที่แต่ละรัฐจะสร้างโครงสร้างเนื้อหา หรือ จัดทำคู่มือโครงสร้างเนื้อหาใหม่ในแต่รัฐและให้เกิดการยอมรับ หลักสูตรวิทยาศาสตร์ถูกเผยแพร่และเชื่อมต่อเครือข่ายในวันที่ 9 ตุลาคม 2003 ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์คาร์เนกี้ สำเนาของกรอบถูกกระจายไปทุกโรงเรียนจากตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเพนซิลวาเนีย ในฐานะที่ปรึกษา ดร. กี๊บ บอลลิงค์เกอร์ แจกจ่ายสำเนา CD - Rom ของกรอบที่สำคัญที่สุดทั้งหมดในเพนซิลวาเนีย ผู้ประสานงานของ MSP จะอธิบายถึงผลการประเมินวิทยาศาสตร์

สรุปกรอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คือ

1. เป็นเครื่องมือในการสร้างความคล่องตัวของหลักสูตร K - 12
2. สอนเพื่อให้เข้าใจแนวคิด
3. เกิดความคิดหลัก (Big idea) ทางวิทยาศาสตร์
4. โครงสร้างเน้นการกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
5. งานวิจัยจะบอกข้อมูลที่ท้าทาย

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Benchmarks Statements
The Nature of Science ชั้นม.3-ม.6

1.โลกทัศน์วิทยาศาสตร์ (The Scientific Worldview)
1.1 สามารถตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎที่มารองรับ
1.2 ควรใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้
1.3 สามารถใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายความรู้ที่เกิดขึ้น ซึ่งทฤษฎีอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ถ้าข้อมูลหรือหลักฐานที่ดีกว่ามายืนยัน
1.4 ความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถพิสูจน์ ตรวจสอบและเชื่อถือได้

2.กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (The Scientific Inquiry)
2.1 ผู้เรียนควรใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในการค้นหาคำตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น
2.2 การตั้งสมมติฐานจะเป็นแนวทางในการค้นหาคำตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น การคาดเดา
คำตอบของปัญหาอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้
2.3 ความรู้ที่ค้นพบต้องพิสูจน์และตรวจสอบได้ทั้งกว้างและลึกในเชิงปริมาณและคุณภาพ
2.4 นักวิทยาศาสตร์อาจจะศึกษาในสิ่งเดียวกันแต่อาจมีวิธีการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลที่
แตกต่างกันโดยอาศัยทฤษฎีมาอธิบาย

3.กิจการวิทยาศาสตร์ (The Scientific Enterprise)
3.1 ในอดีตคนอียิปต์ , กรีก,จีน,ฮินดูและอาหรับมีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสิ่งประดิษฐ์จากเทคโนโลยี
3.2 ปัจจุบันสังคมมีความเจริญก้าวหน้าโดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีการนำปรัชญา แนวคิดจากหลากหลายสาขามาประยุกต์ร่วมกันจนกลายเป็นวิทยาศาสตร์แนวใหม่
3.3 ความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถนำไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง
3.4 นักวิทยาศาสตร์ที่ดีต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
3.5 อธิบายผลการตรวจสอบอย่างมีเหตุผล มีประจักษ์พยานที่ชัดเจน เชื่อถือได้แต่ถ้ามีข้อมูลหรือประจักษ์พยานใหม่มาโต้แย้งความรู้เดิมอาจเปลี่ยนแปลงได้
3.6 ควรมีการเผยแพร่ความรู้ต่อสาธารณชน

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

กว่า 20 ปีที่ผ่านมา ริชาร์ด ดัช ได้สรุปหลักการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ไว้ ซึ่งครั้งแรกไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร และหลังจากที่มีการตีพิมพ์และเผยแพร่ออกไปหลังจากนั้นก็เป็นที่ยอมรับมากขึ้นทั้งในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ ปัจจุบันธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ถูกบรรจุลงในหลักสูตรการศึกษาเพื่อให้ครูได้นำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งสามารถสรุปแก่นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ไว้ 9 ข้อ คือ
1. สิ่งที่วิทยาศาสตร์ต้องการคือหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ผ่านการพิสูจน์ว่าถูกต้องแล้ว ไม่ได้มาจากการคาดเดา ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องเชิงฟิสิกส์ ตัวอย่างเช่น ไอน์ สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันศึกษาเกี่ยวกับมวลสารขนาดใหญ่ที่สามารถปลดปล่อยลำแสงขนาดเล็กออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีหลักฐานที่ยืนยันได้
2. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากลักษณะนิสัยของนักวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ลักษณะนิสัยของนักวิทยาศาสตร์คือมีเหตุมีผล มีความละเอียดรอบคอบ ส่วนวิธีการทางวิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากการระบุปัญหาหรือเกิดข้อสงสัย นำไปสู่การตั้งสมมติฐาน ตรวจสอบสมมติฐาน และสรุปรายงานผลของการแก้ปัญหาซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของงานวิจัย
3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการพิสูจน์และทดลองมาแล้ว จึงเป็นความรู้ที่มีคุณค่าคงทนและยอมรับได้
4. กฎและทฤษฎีเป็นการอธิบายความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ เป็นความรู้ที่เฉพาะเจาะจง ถูกต้องและชัดเจนซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ กฎคือการบอกลักษณะของธรรมชาติที่ปรากฏ เช่น กฎของชาร์ล ส่วนทฤษฎีคือ ความรู้ที่เป็นหลักการกว้าง ๆเพื่อใช้อธิบายหรือพยากรณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของทฤษฎีนั้น การยอมรับว่าทฤษฎีใดเป็นความจริงหรือไม่ พิจารณาจากทฤษฎีนั้นจะต้องอธิบายกฎ หลักการ และข้อเท็จจริงที่อยู่ในขอบเขตทฤษฎีนั้น
5. วิทยาศาสตร์คือความพยายามที่จะสร้างความรู้ นักวิทยาศาสตร์เลือกปัญหาและวิธีการในการสืบค้นและสร้างสรรค์ผลงาน ข้อเท็จจริงมากมายเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากแรงผลักดันภายในตัวของนักวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบค้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์บางครั้งก็ต้องอาศัยความรู้ทางด้านศิลปะ
6. ลักษณะนิสัยในตัวบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญของวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งได้มาจากลักษณะนิสัยในตัวบุคคลซึ่งจะเป็นตัวเสริมทำให้เกิดการค้นพบความรู้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมและความคาดหวัง
7. ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคมมีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะสังคมของคนชนบท
8. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความหมายคล้ายกันคือ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติ ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ส่วนเทคโนโลยีคือ การนำเอาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์
9. วิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบคำถามได้ทุกคำถาม ความสำคัญของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์เป็นส่วนสำคัญที่นักเรียนต้องเข้าใจและเข้าถึงคุณค่า เพราะคำถามบางคำถามไม่สามารถหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ได้ เช่น คนที่ชอบด้านไสยศาสตร์ มักจะไม่มีเหตุผลและไม่สามารถหาข้อเท็จจริงมาอธิบายได้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Nature of science

•วิทยาศาสตร์ต้องการหลักฐาน (Science Demands Evidence)

•วิทยาศาสตร์คือการบรูณาการตรรกะและจินตนาการเข้าด้วยกัน (Science Is a Blend of Logic and Imagination)

•วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายและทำนายปรากฎการณ์ต่างๆได้ (Science Explains and Predicts)

•นักวิทยาศาสตร์พยายามหาหลักฐานเพื่อสนับสนุนการอธิบายปราฏการณ์ต่างๆ โดยไม่มีอคติ (Scientists Try to Identify and Avoid Bias)

•วิทยาศาสตร์มีอิสระและไม่ได้เกิดจาการบังคับ (Science Is Not Authoritarian)

•ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและ
ตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ

•มนุษย์สามารถทำความเข้าใจโลกได้ (The World Is Understandable)

•ความรู้วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ยอมรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง (Scientific Knowledge Is Durable) วิทยาศาสตร์ไม่สามารถให้คำตอบทุกอย่างได้ (Science Cannot Provide Complete Answers to All Questions

• เข้าใจถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่าง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สังคม และ สิ่งแวดล้อม

•วิทยาศาสตร์คือกิจกรรมทางสังคมที่ซับซ้อน (Science Is a Complex Social Activity)

•วิทยาศาสตร์จำแนกได้หลายสาขาวิชาและนำไปใช้ในสถาบันต่างๆมากมาย (Science Is Organized Into Content Disciplines and Is Conducted in Various Institutions)

•การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ต้องคำนึงถึงศิลธรรม (There Are Generally Accepted Ethical Principles in the Conduct of Science)

•นักวิทยาศาสตร์ต้องมีส่วนร่วมในสังคมทั้งในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นพลเมืองคนหนึ่ง (Scientists Participate in Public Affairs Both as Specialists and as Citizens)

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Constructivism
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) พัฒนามาจาก Jean Piaget ซึ่งอธิบายว่าพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม และกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา พัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับและซึมซาบข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้หรือประสบการณ์เดิม

ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
1. ธรรมชาติของผู้เรียน
ผู้เรียนมีความแตกต่างกัน แต่ทุกคนจะมีการพัฒนาเชาว์ปัญญาไปตามลำดับขั้น จากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม วุฒิภาวะ และกระบวนการพัฒนาความสมดุล
2. บทบาทของครู
บทบาทของครูคือ ทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดแก่ผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปในทางที่ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน ให้คำปรึกษา แนะนำทางวิชาการและด้านสังคมแก่ผู้เรียน ดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหา และประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. กระบวนการเรียนรู้
ผู้เรียนจะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างตื่นตัว เป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่าง ๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง ครูควรจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ วัสดุอุปกรณ์ สิ่งของ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นจริง และมีความสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถจัดกระทำ ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ ทดลอง ลองผิดลองถูกกับสิ่งนั้น

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พรบ.การศึกษา

หมวด ๔
แนวการจัดการศึกษา
มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(๔) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลอ้งกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษาให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จึดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งหมายพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับ สภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

(แนวการจัดการศึกษา หมวด 4 เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ โดยครูควรจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ผู้เรียนต้องได้รับประสบการณ์ตรง ได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง คิดเป็น ทำเป็น มีความสามารถในการสื่อสาร ผู้เรียนจะเกิดคุณลักษณะดังกล่าวได้ครูควรให้ผู้เรียนสัมผัสกับสื่อ อุปกรณ์ และบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการซึมซับความรู้และเป็นความรู้ที่คงทน รวมถึงใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน ซึ่งแนวทางการจัดการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism)ของเพียเจต์และไวก็อทสกี้)